Category

Smart City เมืองอัจฉริยะ เมือง และ เทคโนโลยีแห่งอนาคต

เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City หมายถึง เมืองที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน

5 ก.พ. 2567

นิยาม ขอบเขต และองค์ประกอบของ เมืองอัจฉริยะ (Smart City)

เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City คือ แนวคิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและการบริหารจัดการทรัพยากรในเมืองอย่างประสิทธิภาพ โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการต่าง ๆ และลดปัญหาที่เกิดขึ้นในเมือง ทำให้เมืองดำเนินไปได้ด้วยวิธีที่ถูกต้องและยั่งยืนมากขึ้น

คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้กำหนดนิยามของเมืองอัจฉริยะไว้ว่า “เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากร โดยการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน”

ขอบเขตและมิติการพัฒนาที่สำคัญของเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City

เมืองอัจฉริยะ ครอบคลุมมิติการพัฒนาที่สำคัญ 7 ด้าน ดังนี้

  1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ลดมลพิษ ควบคุมคุณภาพอากาศ น้ำ และเสียง ส่งเสริมพื้นที่สีเขียว

  2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ลดการจราจร

  3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบาย ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน

  4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) พัฒนาศักยภาพของประชาชน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล

  5. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สนับสนุนธุรกิจ startups และ SMEs

  6. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) พัฒนาและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

  7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

3 องค์ประกอบหลักของเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

เมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ดังนี้

  1. เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and innovation)

เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยีที่ใช้ในเมืองอัจฉริยะ เช่น Internet of Things (IoT), Big Data, Artificial Intelligence (AI), Cloud Computing ฯลฯ เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้เมืองอัจฉริยะสามารถ

  • เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมือง เช่น ข้อมูลการจราจร ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ข้อมูลการใช้พลังงาน ฯลฯ

  • วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัญหาและแนวทางแก้ไข

  • พัฒนาระบบและบริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

  • บริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ข้อมูล (Data)

ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจ เมืองอัจฉริยะต้องมีระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ใช้ในเมืองอัจฉริยะ เช่น ข้อมูลการจราจร ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลประชากร ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เมืองอัจฉริยะสามารถ

  • การเข้าใจสถานการณ์ของเมือง

  • การหาปัญหาและแนวทางแก้ไข

  • การพัฒนาระบบและบริการต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน

  • การบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. คน (People)

คนหรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นหัวใจสำคัญของเมืองอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะต้องมีการมีส่วนร่วมของคนหรือประชาชนในการมีส่วนร่วมที่จะช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ โดยอาศัยบทบาทต่างๆ ของคนหรือประชาชนภายในเมือง ยกตัวอย่าง เช่น

  • การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมือง

  • การให้ความร่วมทดสอบและใช้งานระบบและบริการต่าง ๆ ของเมือง

  • การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ

  • การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะ

stay in the loop

Subscribe for our latest update.